โครงการจัดทำแนวทางการปฏิบัติเพื่อหาปริมาณการระบายความสกปรกและศักยภาพการรองรับมลพิษเพื่อนำไปใช้ในการกำหนดการระบายมลพิษรายจังหวัด

กำหนดการ

การประชุมรับฟังความคิดเห็นผู้มีส่วนได้เสีย โครงการจัดทำแนวทางการปฏิบัติเพื่อหาปริมาณการระบายความสกปรกและศักยภาพการรองรับมลพิษเพื่อนำไปใช้ในการกำหนดการระบายมลพิษรายจังหวัด

วันจันทร์ที่ 19 กันยายน 2565

ณ ห้อง TOPAZ Room ชั้น 2 โรงแรมแกรนด์ ริชมอนด์ แคลาย นนทบุรี


  • 08.30 – 09.00 น. ลงทะเบียน

  • 09.15 – 09.45 น. พิธีเปิดการประชุมรับฟังความคิดเห็นวิธีการประเมินศักยภาพการรองรับมลพิษ โดย อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ

  • กล่าวรายงานโดย ผู้อำนวยการกองจัดการคุณภาพน้ำ กรมควบคุมมลพิษ

  • 09.50 – 10.40 น. แนะนำโครงการจัดทำแนวทางการปฏิบัติเพื่อหาปริมาณการระบายความสกปรก และศักยภาพการรองรับมลพิษ เพื่อนำไปใช้ในการกำหนดการระบายมลพิษรายจังหวัด โดย ดร.สุรศักดิ์ คลังสุภาวิพัฒน์ ผู้จัดการโครงการ

  • 10.40 – 11.00 น. พักรับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่ม

  • 11.00 – 12.00 น. นำเสนอรายละเอียดการประเมินศักยภาพรองรับมลพิษ โดย ดร.ภานุวัฒน์ แตระกุล ผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อม

  • 12.00 – 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน

  • 13.00 – 13.40 น. นำเสนอรายละเอียดคู่มือแนวทางการปฏิบัติเพื่อหาปริมาณการระบายความสกปรก และศักยภาพการรองรับมลพิษ เพื่อนำไปใช้ในการกำหนดการระบายมลพิษรายจังหวัด โดย ดร.ภานุวัฒน์ แตระกุล ผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อม

  • 13.40 – 14.20 น. นำเสนอรายละเอียดคู่มือตัวอย่างแนวทางการปฏิบัติด้านแบบจำลองคณิตศาสตร์เพื่อหาปริมาณการระบายความสกปรกในแม่น้ำท่าจีนและศักยภาพการรองรับมลพิษ โดย ดร.สุรศักดิ์ คลังสุภาวิพัฒน์ ผู้จัดการโครงการ

  • 14.20 – 15.00 น. นำเสนอรายละเอียดคู่มือตัวอย่างแนวทางการปฏิบัติด้านแบบจำลองคณิตศาสตร์เพื่อหาศักยภาพการรองรับมลพิษ และเกณฑ์ในการกำหนดสัดส่วนการระบายมลพิษของแหล่งกำเนิดมลพิษรายจังหวัดในแม่น้ำท่าจีน โดย ดร.ภานุวัฒน์ แตระกุล ผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อม

  • 15.00 – 15.15 น. พักรับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่ม

  • 15.15 – 16.00 น. ถาม-ตอบ และรับฟังข้อคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ

  • 16.00 – 16.15 น. สรุปผลการประชุม

  • 16.00 – 16.30 น. พิธีปิดการประชุม

  • ** กำหนดการอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม


เอกสารประกอบ

รายละเอียดก่อนการเข้าร่วม การประชุมรับฟังความคิดเห็นผู้มีส่วนได้เสีย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องฯ

มาตรการคัดกรองความปลอดภัยของผู้เข้าร่วมประชุม

ผู้เข้าร่วมการประชุมฯ จะต้องได้รับการฉีดวัคซีนโควิด-19 และขอความกรุณาทุกท่านปฏิบัติตามเงื่อนไขต่อไปนี้
  1. กรณีที่ 1: ได้รับการฉีดวัคซีน booster ของ Pfizer หรือ Moderna เป็นวัคซีนเข็มที่ 4 เรียบร้อยแล้ว ให้ยื่นเอกสารรับรองการฉีดวัคซีน ที่จุดลงทะเบียนหน้างาน
  2. กรณีที่ 2: ได้รับการฉีดวัคซีนแล้ว แต่ยังไม่ครบตามกรณีที่ 1 ให้ส่งผลตรวจ ATK ที่ตรวจล่วงหน้าไม่เกิน 48 ชั่วโมง โดยให้ส่งเป็นเอกสาร/ภาพถ่าย (วางบัตรประชาชนแนบกับชุดตรวจ ATK ก่อนถ่ายภาพ) โดยท่านสามารถส่งมาได้ที่ ampawans@sau.ac.th ก่อนวันที่มีการประชุม หรือแสดงผลตรวจ ATK ที่จุดลงทะเบียนหน้างาน
หากท่านเป็นผู้ที่มีความเสี่ยงต่อโควิด-19 ในช่วง 2-3 วัน ก่อนการประชุม เช่น มีอาการไข้ ไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส หายใจหอบเหนื่อย หรือเป็นผู้สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อโควิด-19 ขอความร่วมมือท่านงดการเข้าร่วมประชุม